กำเนิดกาแล็คซีดวงดาวที่เราเห็นในท้องฟ้าตอนกลางคืนด้วยตาเปล่านั้นเป็นดาวในทางช้างเผือก
(Milky Way) ทั้งสิ้น สุริยจักรวาลที่มีดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลางเป็นกลุ่มดาวเล็กๆ
กลุ่มหนึ่งในจำนวนหลายหมื่นล้านกลุ่มที่อยู่ในทางช้างเผือกนี้ ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์
ว่ากาแล็คซี (Galaxy) ซึ่งเอกภพ (Universe) ของเรามีกาแล็คซีจำนวนล้าน ล้านกาแล็คซี
กาแล็คซีในเอกภพมีรูปร่างและขนาดต่างกัน ซึ่งสามารถแบ่งตามรูปร่างได้ 3 แบบ คือ
แบบวงรี แบบเกลียว และแบบปกติ และเมื่อกาแล็คซีปะทะกัน กาแล็คซีใหญ่จะกลืนกิน
หรือรวมเข้ากับกาแล็คซีเล็ก ทำให้เกิดกาแล็คซีที่มีรูปร่างแตกต่างจากเดิม
ในวันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2532 Martha Haynes และ Ricardo Giovanelli สองนัก
ดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Cornell สหรัฐอเมริกา ได้โฟกัสกล้องโทรทัศน์วิทยุไปยัง
ท้องฟ้า และได้พบ กลุ่มแก๊สไฮโดรเจนขนาดมโหฬาร กว้างใหญ่ขนาดที่แสงต้องใช้เวลา
เดินทางนานถึง 10 ล้านปี จึงจะวิ่งจากขอบหนึ่งของกลุ่มแก๊สไปยังอีกขอบหนึ่ง
กลุ่มเมฆนี้มีลักษณะเป็นวงรี และอยู่ห่างจากโลกมาก เป็นระยะทาง 65 ล้านปีจึงจะมา
ถึงโลกเรา ซึ่งหมายความว่า ภาพกลุ่มเมฆที่ค้นพบนั้นเป็นภาพที่เกิดขึ้นเมื่อ 65 ล้านปี
โน้น ภาพปัจจุบันของกลุ่มเมฆเป็นอย่างไรนั้นต้องรอไปอีก 65 ล้านปีจึงจะเห็น
นักดาราศาสตร์ทั้งสองยังรายงานอีกว่า ในกลุ่มเมฆนี้ไม่มีการพบดาวฤกษ์ใดๆ และเชื่อ
ว่ากลุ่มเมฆนี้จะวิวัฒนาการไปสู่การเป็นกาแล็คซีที่มีดาวตั้งแต่แสนล้านถึงล้านล้านดวง
ในเวลาอีก 1,000 ล้านปีข้างหน้า
การค้นพบของ Haynes และ Giovanelli ได้แสดงให้เห็นว่า กาแล็คซีนั้นมีการเกิดขึ้นได้
ตลอดเวลา
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น